วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง



การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง ดังนี้



“การ ปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง  คือ 
1.ไม้ใช้สอย  เป็นไม้ที่เกิดขึ้นในที่ดินของเรา เป็นไม้โตง่าย  โตเร็ว จะปลุกไว้ก่อน อย่างเช่น ไม้ไผ่ ไม้มะม่วง ไม้มะขาม ฯลฯ 
 
           
2. ไม้กินได้ เป็นไม้ที่ปลูกเพื่อใช้กินในครัวเรือนหรือจำหน่าย เช่น คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา ฟักทอง ฯลฯ ซึ่งอาจจะเป็นพืชสมุนไพรก็ได้ 
3. ไม้เศรษฐกิจ  ไม้ที่ปลุกเพื่อนำไปจำหน่ายโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ที่ขึ้นชื่อของประเทสไทย เช่น กล้วยไม้ หมาก กฤษณา ฯลฯ ซึ่งไม้พวกนี้ส่วนใหญ่จะนำรายได้เข้าประเทศเป็นอย่างมาก 
แต่มีประโยชน์ 4 อย่างคือ
1. สามารถนำนำมาทำฟืน ใช้ภายในครอบครัวได้ อีกทั้งยังช่วยประหยัดรายจ่ายอีกด้วย

2. สร้างรายได้ สาารถนำไม้ที่ได้ไปแปรรูปหรือขายเข้าสู่ชุมชนหรือครัวเรือนได้

3.นำมาเป็นอาหาร ทำให้เราไม่ได้ต้องเสียเงินบางส่วนสำหรับที่จะไปซื้อผักกิน อีกทั้งยังช่วยประหยัดเงินในครัวเรือนอีกด้วย 

4.ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้คงอยู่ต่อไป และยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ต่างๆอีกด้วย

แปลความสรุปอย่างเข้าใจง่าย ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์
พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย
พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร
พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน, และไม้ไผ่ เป็นต้น
ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า

โครงการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักการและเหตุผล

วัตถุประสงค์

1. ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ตามแนวคิด ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง

2. จัดรูปแบบการปลูกให้เกิดคุณค่าและบูรณาการในพื้นที่ทำกินเดิมให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า

3. สร้างมูลค่าต้นไม้ที่ปลูกทำให้เป็นทรัพย์ เพื่อออมทรัพย์และใช้แก้ปัญหาความยากจน
วิธีการดำเนินการ

1. การจัดแบ่งที่ดินทำกินเพื่อใช้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง จากพื้นที่ทำกินอยู่เดิม ที่เป็นพื้นที่สวน ไร่หรือนา     แบ่งพื้นที่ออกมา ร้อยละ 30-50 โดยมีรูปแบบการจัดแบ่ง 3 รูปแบบ ดังนี้

1. พื้นที่จัดแบ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง

1.1 จัดแบ่งโดยใช้พื้นที่รอบแนวเขตพื้นที่ทำกิน ปลูกในพื้นที่ร้อยละ 30-50 ตามแนวเขตแดนพื้นที่ ทำกิน

2. พื้นที่จัดแบ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง

1.2 จัดแบ่งออกมาชัดเจนเป็นส่วน ปลูกในพื้นที่ร้อยละ 30-50 โดยจัดส่วนอยู่ด้านหนึ่งของพื้นที่

1.3 จัดแบ่งเป็นริ้วหรือแถบตามความเหมาะสม

3. พื้นที่จัดแบ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง

2. การจัดองค์ประกอบ พันธุ์ไม้ตามวัตถุประสงค์ โดยการปลูกพันธุ์ไม้ในพื้นที่ตามความเหมาะสม แต่ให้ได้องค์ประกอบซึ่งให้เกิดความพออยู่ พอกิน พอใช้ ดังนี้

2.1 ปลูก เพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านพออยู่ เช่น การปลูกต้นไม้สำหรับใช้เนื้อไม้มาปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เช่น ไม้ตะเคียนทอง, สัก, ยางนา, มะฮอกกานี, กระทินเทพา, จำปาทอง ฯลฯ

2.2 ปลูกเพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านการพอกิน เช่นการปลูกต้นไม้สำหรับใช้กิน เป็นอาหาร เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่ม ตลอดจนพืชที่ปลูกเพื่อการค้าขายผลผลิตเพื่อดำรงชีพ เช่น ไม้ผลต่าง ๆ ได้แก่ เงาะ, ทุเรียน, มังคุด, ลองกอง, มะม่วง ฯลฯ ไม้ที่ให้ผลผลิตเพื่อขาย เช่น ปาล์ม, มะพร้าว, ยางพารา ฯลฯ

2.3 ปลูกเพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านการพอใช้ เช่น ปลูกต้นไม้สำหรับใช้สอย ในครัวเรือน ใช้พลังงาน ใช้เป็นเครื่องมือต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ ไม้ไผ่,หวาย สำหรับจักสานเป็นเครื่องเรือน ของใช้ ฯลฯ ไม้โตเร็วบางชนิดที่ใช้เป็นไม้ฟืน,ถ่าน ไม้พลังงาน เช่น สบู่ดำ, ปาล์ม ฯลฯ ไม้ทำเครื่องมือการเกษตร ได้แก่ การทำด้ามจอบ, มีด, ขวาน, ทำรถเข็น, โต๊ะ, เก้าอี้, ตู้ ฯลฯ

องค์ประกอบตามวัตถุประสงค์ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

จัดโครงสร้างและลำดับชั้นต้นไม้ในป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการจัดโครงสร้าง พันธุ์ไม้ให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อความสมดุลของระบบนิเวศ โดยให้มีชั้นเรือนยอด 3 ชั้น ได้แก่ เรือนยอดชั้นบน เรือนยอดชั้นกลาง เรือนยอดชั้นล่าง และหากจัดโครงสร้างด้านการใช้ประโยชน์จะเป็น 4 ระดับ คือ ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่างและชั้นใต้ดิน ตามรูปแบบเกษตร 4 ชั้น, สวนโบราณ, สวนสมรม

3.1 ไม้เรือนยอดชั้นบนได้แก่ ไม้ที่ปลูกใช้เนื้อไม้ทำที่อยู่อาศัย เช่น ตะเคียนทอง, สัก ยางนา, สะเดา, จำปาทอง ฯลฯ และไม้ที่ลำต้นสูงและที่ลูกเป็นอาหารได้ เช่น สะตอ, เหรียง, กระท้อน, มะพร้าว หมาก ฯลฯ

3.2 ไม้ เรือนยอดชั้นกลางส่วนใหญ่เป็นไม้เพื่อการกิน, การขาย, การใช้เป็นอาหารและสมุนไพร เช่น มะม่วง, ขนุน, ชมพู่, มังคุด, ไผ่, ทุเรียน, ลองกอง, ปาล์ม ฯลฯ

3.3 ไม้ที่ปกคลุมผิวดิน ทั้งที่เป็นอาหาร, สมุนไพรและของใช้ เช่น กาแฟ ผักป่าชนิดต่าง ๆ ชะพูล, มะนาว, หวาย, สบู่ดำ ฯลฯ

3.4 พันธุ์พืชที่ใช้ประโยชน์จากส่วนที่อยู่ใต้ดิน (พืชหัว)เป็นพืชที่ปลูกเพื่อความพอเพียงในด้านการกิน ได้แก่ กลอย, ขิง ข่า, กระชาย, กระทือ ฯลฯ

ซึ่ง กระบวนการปลูกในรูปแบบดังกล่าวจะได้พันธุ์ไม้ที่เกิดป่า 3 อย่าง คือ ป่าเพื่อพออยู่ ป่าเพื่อพอกินและป่าเพื่อพอใช้ และจะได้ประโยชน์เพิ่มในด้านการรักษาสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม

4. กระบวนการสร้างมูลค่าต้นไม้ ในโครงการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการให้คุณค่าไม้ ให้เป็นมูลค่าเพื่อเกิดการพออยู่ตามนัยที่ ให้พอรักษาที่ดินทำกินให้อยู่กับเจ้าของผู้ทำกิน ให้เป็นมูลค่าเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ในการลดค่าใช้จ่ายจากพืชที่ปลูกไว้บริโภคเอง

5. พื้นที่ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

5.1 ในพื้นที่ทำกินของประชาชนในชุมชนที่อยู่ในหรือรอบแนวเขตป่า

5.2 ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามความเหมาะสม

5.3 ในพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชน